Sunday, 28 April 2024
North Time Team

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เครื่องบินซาอุฯ – คาซัคฯ ชนสนั่นกลางอากาศ เสียชีวิตหมดยกสองลำ รวม 349 ชีวิต

วันนี้ของเมื่อ 26 ปีก่อน หรือเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย ส่งผลให้ผู้โดยสารของทั้งสองลำ เสียชีวิตทั้งหมด รวม 349 คน

เหตุการณ์สุดสลดดังกล่าว เกิดขึ้นจากเครื่องบินลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโดยสารที่เดินทางจาก ‘คาซัคสถาน’ และกำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

เกิดชนกันกับเครื่องบินโดยสารอีกลำหนึ่งคือสายการบินของซาอุดีอาระเบีย ที่ขึ้นบินจากท่าอากาศยานเดียวกัน โดยมีปลายทางคือ ‘ซาอุดีอาระเบีย’

โดยตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุอยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า ‘เหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่จรรขีทาทรี’

ผลคือ ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำรวมทั้งสิ้น 349 คนเสียชีวิตทั้งหมด!!

นั่นจึงทำให้เหตุการณ์นี้ ถือเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศอินเดีย และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในโลก รองจากเหตุการณ์เครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานเตเนริเฟในหมู่เกาะคะแนรี ประเทศสเปนในปี พ.ศ. 2520 และอุบัติเหตุเจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 ตกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2528

สำหรับเหตุการณ์นี้ เครื่องลำหนึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของสายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ หรือเที่ยวบินที่ 763 ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ หรือ เที่ยวบินที่ 1907

รายละเอียดของเครื่องบินทั้งสองเที่ยวบินนี้ คือ เที่ยวบินที่ 763 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอัซเซาะฮ์รอน เมืองอัซเซาะฮ์รอน ทางตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ก่อนจะเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ เมืองญิดดะฮ์ ทางตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย

โดยใช้เครื่องบินโบอิง 747-168 บี หมายเลขทะเบียน HZ-AIH ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 14 ปี 10 เดือน มีผู้โดยสารบนเครื่องบินลำนี้ 289 คน และลูกเรือ 23 คน

ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ซึ่งเดินทางไปทำงานหรือไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย และมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วย 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มายังท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี

โดยใช้เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76ทีดี หมายเลขทะเบียน UN-76435 โดยขณะเกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 4 ปี ในรายงานข่าวแต่แรกนั้นระบุว่ามีคนบนเครื่องบินทั้งหมด 39 คน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ได้แจ้งว่ามีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

ซึ่งเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินเหมาลำ โดยมีบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในประเทศคีร์กีซสถานเป็นผู้เช่า ผู้โดยสาร 13 คนบนเครื่องบินลำนี้ถือสัญชาติคีร์กีซ

ระหว่างที่ คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต

หากแต่ในขณะนั้น ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907

เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้เที่ยวบินที่ 763 ไต่ระดับขึ้นไปที่เพดานบิน 14,000 ฟุต เที่ยวบินที่ 1907 เมื่อลดระดับถึง 15,000 ฟุตแล้วก็รายงานต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนเที่ยวบินที่ 1907 ว่าเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมาโดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับต่อไปอีก

เหตุร้ายบังเกิด เมื่อปรากฏว่าเที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงไปอีกประมาณ 310 ฟุต ที่สุดทั้งคู่จึงได้ชนเข้าอย่างจัง โดยที่เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเครื่องบินทั้งสองลำชนกันแตกระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ ไปแล้ว

แต่ยังพยายามสื่อสารกับเครื่องบินทั้งสองลำ แต่ไม่มีสัญญาณตอบกลับมา และจุดสัญญาณบนจอซึ่งเป็นของเครื่องบินทั้งสองลำนั้นหายไปแล้ว

11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก

วันนี้เมื่อ 154 ปี ก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก ขณะพระชนมายุเพียง 15 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตร ศิริวัฒนราชกุมาร 

ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ หลังจากทรงผนวชเป็นสามเณรทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงเป็นพระราชปิโยรสที่สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์เสมอเพื่อให้มีโอกาสแนะนำสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชารัฏฐาภิบาล ราชประเพณีและโบราณคดี นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษามคธ ภาษาอังกฤษ การยิงปืนไฟ กระบี่กระบอง มวยปล้ำ รวมทั้งการบังคับช้างอีกด้วย

‘เพื่อไทย’ โวย!! รัฐนิ่ง ทำท่องเที่ยวเชียงใหม่ซบ แนะ!! ต้องหานักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่มาเพิ่ม

(10 พ.ย. 65) นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เวลานี้แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยจะลดลง และสามารถเปิดให้มีการท่องเที่ยวได้ แต่พบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังมีปริมาณน้อยมาก เพราะนักท่องเที่ยวต่างประเทศรวมทั้งจีน ยังไม่เดินทางออกมาท่องเที่ยวมากนัก ส่งผลกระทบกับรายได้การท่องเที่ยวที่ลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ตัวเลขนักท่องเที่ยวจึงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเท่าที่ควร งบประมาณที่จัดสรรให้ก็มีน้อยมาก

นายจักรพล กล่าวต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ รู้ดีว่าการท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์ที่สำคัญสำหรับประเทศไทย แต่กลับทอดทิ้งไม่หากลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ในโลกยังมีนักท่องเที่ยวอีกมากมายที่อยากมาเที่ยวไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโอเชียเนียร์ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย กลุ่มตะวันออกกลาง ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศควรบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางไปโปรโมทการท่องเที่ยวของไทยกับกลุ่มประเทศใหม่ ๆ แต่ทั้งสองกระทรวงกลับนิ่งเฉย

ชาวบ้านแห่สมัครงาน 'เหมืองทองอัครา' หลังหยุดกิจการไปเกือบ 6 ปี

เหมืองแร่ทองคำอัคราพิจิตรที่หยุดกิจการไปเกือบ 6 ปี วันนี้ประกาศรับสมัครพนักงานระดับปฏิบัติการกว่า 160 ตำแหน่ง เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ขอรับใบสมัคร ปรากฏว่าแห่กันมาเป็นพันคน หวังมีงานทำมีรายได้อยู่ใกล้บ้าน ในขณะที่เหมืองทองพร้อมเดินเครื่องปลายปี 65 หรือต้นปี 66 เชื่อมั่นเศรษฐกิจชุมชนที่เงียบเหงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง

(10 พ.ย. 65) นายวรงค์ สราญฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายบริหารองค์กร บมจ.อัครา รีซอร์สเซส ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงความคืบหน้าของการดำเนินกิจการว่าขณะนี้ภายในโรงงานเริ่มดำเนินการซ่อมแซมโรงงานครั้งใหญ่ที่เรียกว่า MAJOR OVERHAUL เครื่องจักร รวมถึงอาคารสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในโรงงาน ซึ่งดำเนินการมาแล้วเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการซ่อมแซมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ 

ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมการเปิดดำเนินกิจการฝ่ายบุคคลจึงได้ประกาศรับสมัครพนักงงานใน 11 แผนก 166 อัตรา โดยเชิญชวนผู้ที่สนใจมาขอรับใบสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักงานอัคราเพื่อชุมชน ในช่วงระหว่างวันที่ 7-16 พ.ย. 65 (เว้นวันเสาร์-อาทิตย์) หรือ จะสมัครผ่านเว็ปไซต์ ออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่บริษัทอัคราได้ประกาศอย่างเปิดเผย

ปรากฏว่าได้รับความสนใจ มีผู้แห่กันมาขอรับใบสมัครในช่วง 3 วันที่ผ่านมา มากกว่า 1 พันราย โดยมาขอใบสมัครแล้วนำเอกสารไปกรอกข้อความที่บ้านและให้นำมายื่นในวันที่ 14-16 พ.ย. 65 โดย คุณสมบัติหลัก ๆ ของผู้ที่สมัครมี 4 ข้อด้วยกันคือ 

1. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ 
2. มีทัศนคติที่ดีต่อการทำเหมืองแร่ 
3. ถ้าเป็นคนในพื้นที่จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ 
4. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

นายวรงค์ สราญฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายบริหารองค์กร บมจ.อัครา รีซอร์สเซส ตอบคำถามถึงงบประมาณที่ใช้ในการ MAJOR OVERHAUL เครื่องจักร รวมถึงอาคารสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในโรงงาน ว่า ใช้ทุนดำเนินการมากถึง 500 ล้านบาท สาเหตุเนื่องจากโรงงานหยุดกิจการมาเกือบ 6 ปีแล้ว

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง เดินหน้ารุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมศก.คาร์บอนต่ำ รับเป้าหมาย Net Zero

กลุ่ม ปตท. ผนึกกำลัง รุกธุรกิจน้ำมันเครื่องบินเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(9 พ.ย. 65) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา พัฒนาและลงทุนผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thai Oil) โดย นายรัฐกร กัมปนาทแสนยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านกลยุทธ์องค์กร  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) โดย นางวราวรรณ ทิพพาวนิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) โดย นายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์ แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร และ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) โดย นายทรงพล เทพนำโสมนัสส์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน ร่วมลงนาม 

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ‘ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์’ คืนสู่ไทย หลังหายจากปราสาทหินพนมรุ้งกว่า 30 ปี

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทหินพนมรุ้ง ที่หายไปกว่า 30 ปี ถูกส่งคืนสู่ประเทศไทย หลังการเรียกร้องขอคืนจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประติมากรรมสุดล้ำค่า ได้หายไปจากปราสาทหินพนมรุ้ง นานหลายสิบปี โดยสันนิษฐานว่าถูกโจรกรรมไปในช่วงสงครามเวียดนาม ประมาณปี 2507-2508 ทางกรมศิลปากรในฐานะผู้ดูแลจะได้พยายามค้นหา
 

ขวัญใจยามยาก!! 'แท็กซี่-สามล้อ-วินมอฯ' มีเฮ!! หลังรัฐลดภาษีประจำปี มีผลบังคับใช้แล้ว จ่ายแค่ 10% นาน 1 ปี

(9 พ.ย. 65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้พระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (9 พฤศจิกายน2565) โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ครบกำหนดเสียภาษีประจำปีในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ลงร้อยละ 90 ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อช่วยลดต้นทุนการประกอบการรถสาธารณะทั้งรถยนต์รับจ้าง หรือแท็กซี่, รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือวินมอเตอร์ไซค์

ทั้งนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับประชาชน ที่รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการประกอบการของรถสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบอาชีพ ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการรถสาธารณะได้
 

กระจายความเจริญ!! ‘บิ๊กป้อม’ เร่งผลักดัน ‘Smart Cities’ เมืองอัจฉริยะอาเซียน ขยายเพิ่ม 'เชียงใหม่, ขอนแก่น, ฉะเชิงเทรา, ระยอง'

พล.อ.ประวิตร ประชุมเร่งผลักดัน 'Smart Cities' พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ปลอดภัย มีมติพิจารณา ‘เชียงใหม่, ขอนแก่น, ฉะเชิงเทรา, ระยอง’ เป็นเมืองอัจฉริยะอาเซียน เพิ่มศักยภาพการลงทุน ตามนโยบายรัฐบาล

(9 พ.ย. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ รายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ประจำปี 65 ซึ่งเมื่อ 5 ส.ค. 65 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้มีมติให้ประกาศมอบตราสัญลักษณ์ เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ ประจำปี 65 จำนวน 15 เมือง ใน 14 จังหวัด 
 

เทรนด์นี้กำลังมา!! 'NRPT' ดึง 'Wicked Kitchen' แพลนต์เบสดังระดับโลก รับโปรตีนจากพืชมาแรง ขายแล้วเฉพาะที่ 'ท็อปส์'

ครั้งแรกในเอเชีย 'NRPT' ดึง 'Wicked Kitchen' แพลนต์เบสชื่อดังอังกฤษ เปิดตัวในไทย พร้อมจำหน่ายเฉพาะที่ 'ท็อปส์' / 'ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์' และท็อปส์ ออนไลน์

'NRPT' ผู้พัฒนาและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช หรือ แพลนต์เบส ดึงสตาร์ตอัปแบรนด์อาหารโปรตีนจากพืชชื่อดังจากอังกฤษ พร้อมจับมือ 'ท็อปส์' เบอร์ 1 ฟู้ดรีเทลของไทย เปิดตัว 'Wicked Kitchen' แบรนด์อาหารแพลนต์เบสชื่อดังระดับโลกจากอังกฤษ จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟครั้งแรกในประเทศเฉพาะร้านท็อปส์ (Tops) และ ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ (Tops Food Hall) 50 สาขา ทั่วประเทศ และท็อปส์ ออนไลน์ พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ทั้งหมด 17 รายการ ได้แก่ สินค้ากลุ่ม Frozen Ready meals และของหวาน ที่พร้อมวางจำหน่ายในช่วงแรกของการเปิดตัว ส่วนกลุ่ม Frozen pizza และไอศกรีม จะพร้อมวางจำหน่ายในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนสินค้าเป็น 30 รายการ ในช่วงต้นปีหน้า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ มุ่งเป็นโมเดลต้นแบบการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายสเตฟาน คูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฟู้ด เซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า 'ท็อปส์' ในฐานะผู้นำฟู้ด รีเทลเมืองไทย เราให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดในทุกวันตามแนวคิด 'Every Day DISCOVERY' พร้อมตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกช่วงเวลาจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันพบว่า ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ลดการบริโภคเนื้อสัตว์และหันมาเลือกรับประทานเนื้อจากพืชซึ่งดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้สินค้ากลุ่มแพลนต์เบสในไทยเติบโต 

ขณะเดียวกันในกลุ่มลูกค้าท็อปส์พบว่า มีความนิยมซื้อสินค้าแพลนต์เบสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากท็อปส์มีสินค้ากลุ่มแพลนต์เบสที่หลากหลาย มีรสชาติที่อร่อย ทำให้ผู้บริโภครับประทานได้ง่าย จากผลตอบรับที่ดีดังกล่าวทำให้ท็อปส์เล็งเห็นการเติบโตของเทรนด์ความต้องการสินค้าแพลนต์เบส เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านการคัดสรรสินค้าคุณภาพจากแหล่งผลิตที่ดีที่สุดทั่วโลก เราจึงนำสินค้าชื่อดังจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า 

ล่าสุดได้ร่วมกับ บริษัท เอ็นอาร์พีที ผู้นำทางด้านนวัตกรรมอาหารแพลนต์เบสและอาหารแห่งอนาคต ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง อินโนบิก (เอเซีย) และ เอ็นอาร์เอฟ เปิดตัว Wicked Kitchen แบรนด์อาหารแพลนต์เบส 100% ระดับโลกจากประเทศอังกฤษจำหน่ายครั้งแรกในประเทศไทย เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะ ร้าน Tops และ Tops Food Hall  50 สาขาทั่วประเทศ และ ช่องทางท็อปส์ออนไลน์ ทำให้ลูกค้าท็อปส์จะได้เลือกซื้อสินค้าแพลนต์เบสไอเทมใหม่ที่หลากหลาย เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในการรับประทานอาหารแพลนต์เบส ตลอดจนเป็นการขยายฐานลูกค้าซึ่งจะทำให้ตลาดสินค้ากลุ่มแพลนต์เบสในประเทศไทยเติบโตเพิ่มมากขึ้น
 

PTT - OR - TOYOTA - BIG ผนึกกำลังดัน Future Energy ผุดต้นแบบสถานีเติมไฮโดรเจนแห่งแรกในไทย

4 ยักษ์ใหญ่ 'PTT – OR – TOYOTA – BIG' ผนึกกำลังเสริมแกร่ง Future Energy เปิดสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย จับมือเดินหน้าสู่ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด พร้อมรองรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) อนาคตใหม่ของการเดินทางเติมเต็มความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศยานยนต์แห่งอนาคต 

มอบประสบการณ์การเดินทางรูปแบบใหม่ ด้วยรถยนต์ โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) ให้บริการนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา - ชลบุรี ตอบรับแผนภาครัฐ สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

(8 พ.ย.65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นายวิศาล ชวลิตานนท์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) นายปาซานา กาเนซ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) และ นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) ร่วมเปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของประเทศไทย (Hydrogen Station) ณ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยการนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาเพื่อทดสอบการใช้งานในประเทศไทย ให้บริการในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารในพื้นที่พัทยา - ชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะทำการเก็บข้อมูลเชิงเทคนิคที่ได้จากการใช้งานจริง เพื่อสร้างการรับรู้และเป็นข้อมูลรองรับการขยายผลใช้งานในอนาคต

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จึงมุ่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ปตท. เล็งเห็นว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอย่างไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานที่มีศักยภาพ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับประเทศไทยที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการลงทุนมูลค่าสูง ความร่วมมือของ 5 พันธมิตรชั้นนำในกลุ่มพลังงานและยานยนต์ครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งในด้านมาตรฐานระดับสากล และความปลอดภัยสูงสุดที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้บริการในอนาคต โดย ปตท. ได้ร่วมสนับสนุนการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบอัดบรรจุก๊าซไฮโดรเจน และข้อมูลเชิงเทคนิคที่จำเป็น ร่วมผลักดันการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน
 


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. North Time Thailand
Take Me Top