Thursday, 2 May 2024
นอร์ทไทม์

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของสยามประเทศ

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญญาชาการ (ตึก 1 ค ณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.) บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.) บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวรวิหาร

ก่อนที่จะถึงวันพระราชพิธีทรงผนวช ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการที่จะทรงผนวชแก่พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะทูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราช ซึ่งเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย แจ้งข้อพระราชดำริที่จะบรรพชาอุปสมบท และขอให้ทุกฝ่ายสมัครสมานกันรักษาประเทศ ทรงขอบใจรัฐบาลที่รับภาระเตรียมการบรรพชาอุปสมบท

ครั้นเสร็จพระราชพิธีภายใน พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยแล้ว จึงเสด็จฯ มายังพระที่นั่งสุทไธสวรรค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออกสีหบัญชร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า

“ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ท่านทั้งปวงได้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอถือโอกาสแจ้งดำริ ที่จะบรรพชาอุปสมบทให้อาณาประชาราษฎรทราบทั่วกัน

อันพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจําชาติของเรา ตามความอบรมที่ได้รับมาก็ดี ตามศรัทธาเชื่อถือส่วนตัวของข้าพเจ้าก็ดี เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง มีคําสั่งสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี ทั้งเพรียบพร้อมด้วยบรรดาสัจธรรมอันชอบด้วยเหตุผลน่าเสื่อมใสยิ่งนัก  ข้าพเจ้าเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวยก็น่ารักได้อุปสมบทในพระศาสนาตาม ประเพณีสักเวลาหนึ่ง ซึ่งมักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยมอีกโสดหนึ่งด้วย 

และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์มาเป็นเวลาช้านานพอสมควรแล้ว น่าจะเป็นโอกาสที่จะทําตามความตั้งใจไว้นั้นได้แล้วประการหนึ่ง อนึ่ง การที่สมเด็จพระสังฆราชซึ่งทรงมีพระคุณูปการในส่วนตัวข้าพเจ้าได้หายประชวรในครั้งหลังนี้ ก่อให้เกิดความปิติยินดีแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก มาคํานึงเห็นว่า ถ้าในการที่ข้าพเจ้าจะอุปสมบทนี้ ได้พระองค์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยแล้ว ก็จะเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธา เคารพ ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ในพระองค์ท่านได้อย่างเหมาะสมด้วยอีกประการหนึ่ง อาศัยเหตุเหล่านี้จึงได้ตกลงใจจะอุปสมบทในวันที่ 22 เดือนนี้

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ' ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมขุนพินิตประชานาถ' บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า 'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย...

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย...

อัปเดตราคา 'หมู - ไก่ - เนื้อ' ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2565

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย...

อัปเดตราคา ‘หมู-เนื้อ-ไก่’

อัปเดตราคาอาหารสดวันนี้ มาดูกันว่าตามท้องตลาด ราคาอาหารสด ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น ราคาหมู ราคาไก่ ราคาไข่ไก่ รวมไปถึงราคาผักสด เช็กกันเลย..

กลุ่ม ปตท. มอบบัตรเติมน้ำมัน 200,000 บาท สนับสนุน กทม. ทำงานบรรเทาเหตุน้ำท่วม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มอบบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 200,000 บาท ในนามกลุ่ม ปตท. แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กลางขวา) เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือเหตุอุทกภัย และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม.

โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวด้วยว่า ปตท. ถือเป็นส่วนสำคัญของเมือง ทั้งในเรื่องการสร้างงานและเศรษฐกิจ ต้องขอขอบคุณทาง ปตท. เป็นอย่างมากที่ช่วย กทม. มาตลอด และหวังว่าจะร่วมมือกันต่อไป

พร้อมกันนี้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ยังได้กล่าวถึงโครงการ Saturday School Bangkok ซึ่งขณะนี้เปิดรับคุณครูอาสา (Volunteer Teacher) พร้อมเชิญชวนพนักงาน ปตท. มาช่วยสอนภาษาอังกฤษ สอนเรื่องพลังงาน เรื่องแยกขยะ ฯลฯ เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจปัญหาสังคม เข้าถึงเด็กๆ และได้ร่วมแบ่งปันโอกาสให้น้อง ๆ อีกด้วย

ปตท.สุดเจ๋ง!! ต่อยอดโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง เปลี่ยนสถานะก๊าซฯ จากการผลิตใช้ปลูกพืชเมืองหนาว

ปตท. คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ปี พ.ศ. 2565 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สะท้อนการดำเนินงานที่เป็นเลิศ สนับสนุนนโยบายรัฐอย่างต่อเนื่อง 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 แก่ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโอกาสที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ผ่านการตรวจประเมินและได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าและเป็นกำลังใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ ทำเนียบรัฐบาล

โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาอย่างต่อเนื่องทั้งภาคพลังงานและภาคสังคม ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน โดยล่าสุดได้ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมนำความเย็นที่เกิดจากกระบวนเปลี่ยนสถานะของก๊าซฯ จากกระบวนการผลิตมาปรับใช้เพาะปลูกพืชเมืองหนาว คือ สตรอว์เบอรี่พันธุ์ Akihime ที่โรงเรือนอัจฉริยะ ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี อันเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ทั้งด้านเกษตรวิศวกรรม เทคโนโลยีการปลูกสู่เกษตรกรในพื้นที่ จ.ระยอง

อนึ่ง ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของ ปตท. ‘ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต’ หรือ ‘Powering Life with Future Energy and Beyond’ ปตท. พร้อมเป็นฟันเฟืองสนับสนุนนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ  สร้างคุณค่าต่อสังคมไทยและประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

คน ปตท. ตั้งเป้าบรรจุ 10,000 ถุงยังชีพ ส่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุโนรู

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมผู้บริหารและพนักงานกลุ่ม ปตท. ในนาม ‘ชมรมพลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท.’ ร่วมบรรจุถุงยังชีพจำนวน 1,500 ถุง เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากอิทธิพลพายุโนรู ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ได้แก่ เทศบาลตำบลวารินชำราบ, อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1,000 ถุง พร้อมส่งทีมปฏิบัติการชมรม PTT Group SEALs เจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบนและอุปกรณ์กู้ภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 

นอกจากนั้นจะนำส่งที่ ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 500 ถุง โดยในปี 2565 นี้ ปตท. มีแผนการดำเนินการแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนกว่า 10,000 ถุง โดยถุงยังชีพประกอบด้วย อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและสามารถใช้ได้ทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเบื้องต้น


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. North Time Thailand
Take Me Top