Saturday, 27 April 2024
ECONBIZ NEWS

ของดีเมืองเหนือ!! จังหวัดลำปาง จัดประชุมสภากาแฟ ครั้งที่ 7/2565

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 07.00 น. นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง มอบหมายให้ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานประชุมสภากาแฟจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 7/2565 ณ บริเวณสวนสาธารณะหนองกระทิง โดยมี นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, นายชนาธิป เสมแย้ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อราชการ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของหน่วยงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พร้อมทั้งยังเป็นเวทีให้แต่ละสังกัดกระทรวงได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อราชการ ประสานการทำงานร่วมกัน โดยครั้งนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพ

‘ศักดิ์สยาม’ ตั้งเป้า 3 ปี ไทยเป็นฮับในอาเซียน ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบราง

เมื่อไม่นานมานี้ (15 ธ.ค. 65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ‘ผนึกกำลังพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางของภูมิภาค’ ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และกลุ่มธุรกิจระบบรางฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ไม่มีกำหนดกรอบระยะเวลา เป็นการต่อยอดความร่วมมือการผนึกกำลังพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันวิจัยฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมระบบรางจากประเทศฝรั่งเศส 5 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันที่เป็นรูปธรรมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

1.การสร้างสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบราง ที่เป็นกลไกการพัฒนาบุคลากรระบบราง ทั้งระดับช่างเทคนิคทักษะสูง และระดับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยร่วมกับสถาบันและหน่วยงานเครือข่าย เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง

2.การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนฝรั่งเศส และภาคเอกชนไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thai First ของกระทรวงคมนาคม โดยไม่เพียงแค่ผลิตได้ แต่คาดหวังให้เกิดผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

และ 3.การวิจัยและพัฒนาร่วมกัน และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบรางชั้นแนวหน้าระหว่างกลุ่มธุรกิจระบบรางชั้นนำของฝรั่งเศส และเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การถ่ายทอด และการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภูมิภาคอาเซียนภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้

ททท.จัด "มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม" สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่

ททท. เดินหน้าจัดงาน "มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม" ที่เชียงใหม่ พบกับ กิจกรรมเจรจาธุรกิจใน Business Matching ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายกว่า 130 บริษัททั่วประเทศ ได้แก่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคเหนือ, องค์กรภาครัฐและเอกชน, บริษัทนำเที่ยว, โรงเรียนนานาชาติ และกลุ่มผู้จัดงานทั่วประเทศ หวังสร้างโอกาสทางธุรกิจ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30-13.00 น. ททท. จัดกิจกรรมการเจรจาทางธุรกิจ (B2B) ในโครงการ "มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม" สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยนางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานเชียงใหม่  นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ นายพัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ นายศุภมิตร กิจจาพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารศิริปันนา วิลล่า รีสอร์ทและสปาเชียงใหม่ และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรม ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่

นางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. กำหนด จัดงาน "มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม @เชียงใหม่" ระหว่างวันที่ 20 – 21 ธันวาคมนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศ สร้างโอกาสทางธุรกิจ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เตรียมพร้อมรองรับการท่องเที่ยวที่จะกลับสู่สภาวะปกติในปี 2566 ตามแนวคิดโครงการ Save Partner

โดยกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นการต่อยอดงาน “มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15–18 ธันวาคม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ซึ่ง ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยการจัดงานตลอดทั้ง 4 วัน พบว่า มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดกว่า 50,000 คน เกิดการซื้อขายภายในงานกว่า 70 ล้านบาท

คลังเปิดผลลงทะเบียน 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' รอบใหม่

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการประกาศผล “สถานะการลงทะเบียน” ของโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนและมีการแก้ไขข้อมูลในระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 17 พฤศจิกายน 2565

โดยมีผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะแสดงข้อความว่า “กระทรวงการคลังได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านครบถ้วนแล้ว” จำนวนทั้งสิ้น 21,016,770 ราย ผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะแสดงข้อความว่า “สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์” เนื่องจากข้อมูลของผู้ลงทะเบียนไม่ตรงตามฐานข้อมูลของกรมการปกครอง จำนวนทั้งสิ้น 1,386,423 ราย (คิดเป็นร้อยละ 6.60 ของผู้ลงทะเบียนที่มีข้อมูลครบถ้วนแล้ว)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าว ที่มีการยื่นเอกสารครบถ้วนแต่ยังคงมีสถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ รวมถึงเพื่อให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง และความเป็นปัจจุบันของข้อมูลให้ได้มากที่สุด คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานราก และสังคมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในโครงการฯ

จึงให้มีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าวสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้อีกครั้งในวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั่วประเทศหรือตรวจสอบได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์กระทรวงการคลัง

รัฐบาล อวดภาพรวม นโยบายแก้หนี้ครัวเรือน ยัน เดินหน้าต่อ เพื่อ ศก.ภาพรวม

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินการ “ปี 2565 ปีแห่งการแก้หนี้” ภายใต้นโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้ทุกส่วนราชการ สถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน ร่วมแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างจริงจังนั้น ทำให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดพบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาส 2 ปี 2565 เหลือ 88.2%  ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ 89.1% และไตรมาส 4 ปี 2564 ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงถึง 90% โดยหนี้ครัวเรือน 4 อันดับแรกยังคงเป็น 1.) เงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 34.6 ของหนี้ครัวเรือนรวม 2.) เงินกู้เพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคลสัดส่วนร้อยละ 28.0 ของหนี้ครัวเรือนรวม 3.) เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ สัดส่วนร้อยละ 18.2 ของหนี้ครัวเรือนรวม และ 4.) เงินกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์/ รถจักรยานยนต์ สัดส่วนร้อยละ 12.3 ของหนี้ครัวเรือนรวม

นายธนกร กล่าวว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้แก่

1.) การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยปฏิรูปรูปแบบการชำระหนี้ อาทิ การปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระหนี้คืน จากรายปีเป็นรายเดือน ชำระคืนค่างวดแบบเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 15 ปี เป็น 25 ปี  ปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ โดยนำไปตัดเงินต้นก่อน แล้วจึงตัดดอกเบี้ย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เหลือร้อยละ 2 ต่อปี เป็นต้น

2.) การแก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เช่น การประกาศกรอบอัตราค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ ที่ช่วยคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกเรียกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เกินความจำเป็น

3.) การแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการครู ยุบยอดหนี้โดยใช้ทรัพย์สินและรายได้ของครูในอนาคต เพื่อให้ยอดหนี้ลดลงและสามารถชำระคืนได้จากเงินเดือน การปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5

4.) หนี้สินข้าราชการตำรวจ การขอความร่วมมือสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 พักชำระหนี้เงินต้น ปรับลดอัตราการถือหุ้นรายเดือน จัดทำโครงการปล่อยเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำ และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

5.) การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม และการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ของลูกหนี้ กระทรวงการคลังปรับลดเพดานเงินกู้สินเชื่อ PICO Finance เหลือร้อยละ 33 จากร้อยละ 36 ธปท. สนับสนุนการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้

และ 6.) การปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม มีการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงิน เน้นไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านระบบออนไลน์ โดยประชาชนสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์

ก้าวต่อไม่หยุดยั้ง NRPT เดินหน้าสร้างโรงงานผลิต Plant based กำลังผลิต 3,000 ตันต่อปี ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิก

NRPT เดินหน้าสร้างโรงงานผลิตอาหารโปรตีนจากพืชครบวงจร Plant & Bean (Thailand) ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิก

Nuovo Plus - Gotion ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตชุดแบตเตอรี่ ดันไทยสู่ผู้นำด้านแบตเตอรี่ของอาเซียน

เมื่อวานนี้ (15 ธันวาคม 2565) บริษัท นูออโว พลัส จำกัด (Nuovo Plus) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) บรรลุข้อตกลงร่วมกับ Gotion Singapore Pte. Ltd. (Gotion) บริษัทในกลุ่มของ Gotion High-tech Co., Ltd. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท เอ็นวี โกชั่น จำกัด (NV Gotion) ด้วยทุนจดทะเบียนไม่เกิน 600 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุน 51% และ 49% ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจนำเข้า ประกอบ และจัดจำหน่ายโมดูลแบตเตอรี่และชุดแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูงสู่ตลาดภายในปี 2566 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และขยายกำลังการผลิตเป็น 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ภายในปี 2568

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด เปิดเผยว่า การผลิตแบตเตอรี่เพื่อระบบกักเก็บพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า การร่วมทุนจัดตั้ง NV Gotion ครั้งนี้ เป็นไปตามทิศทางกลยุทธ์การลงทุนธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตของกลุ่ม ปตท. เพื่อเร่งสร้าง Energy Storage and EV Value Chain ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การผสานความเชี่ยวชาญจาก Nuovo Plus และ Gotion ทั้งในด้านของการวิจัยพัฒนา ศักยภาพการผลิตแบบแข่งขันได้ การบริการด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง และการให้บริการแบบครบวงจรในประเทศไทย จะทำให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลสู่ลูกค้าอุตสาหกรรมในไทยและอาเซียน โดย NV Gotion จะเริ่มก่อสร้างโรงงานประกอบชุดแบตเตอรี่ขนาด 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าจะสามารถผลิตและส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูงแก่ตลาดได้ภายในไตรมาส 4 ของปี 2566 นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลักดันเป้าหมาย Net Zero ของประเทศจากทุกภาคส่วนร่วมกัน

เชียงใหม่ เตรียมจัดงาน 'CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022' ชูเสน่ห์ผ้าทอล้านนา

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00-16.00 น. ณ Chef's Together by Aod & Dan นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ และนายธนกร สมฤทธิ์ สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์และออกาไนซ์เซอร์ภาคเหนือตอนบน กรรมการผู้จัดการบริษัท เกรท มอร์ โซลูชั่น จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน 'CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022'

นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางทางมาท่องเที่ยว พักผ่อน หรือแม้แต่การเข้ามาทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่หลังจากสถานการณ์โควิด 19 เริ่มผ่อนคลาย ภาคอุตสาหากรรมการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ก็กลับมาฟื้นตัวขึ้น โดยสังเกตได้จากในช่วงวันหยุดยาว หลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมากมีผู้คนเดินทางเข้ามาที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงในพื้นที่ ที่ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ดูแลด้วยครับ สร้างมูลค่าหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

สำหรับในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้เริ่มขึ้นแล้ว ทางเทศบาลนครเชียงใหม่เองได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างการเวียนทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งการงาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ เห็นว่าเป็นกิจกรรมที่นำเอาศักยภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง

ซึ่งมีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์ มานำเสนอในรูปแบบที่มีความน่าสนใจ สร้างโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบ ได้สร้างผลงานดี ๆ ร่วมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์เมืองเชียงใหม่ด้วยการใช้ แลนด์มาร์คของเมืองเป็นสถานที่จัดงาน และนำเสนอรูปแบบวิถีชีวิตในรูปของแฟชั่นอีกด้วย ในอนาคตหากมีการต่อยอด อาจจะกลายเป็นเป้าหมายของนักออกแบบระดับโลก มาจัดกิจกรรมที่เชียงใหม่ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมดี ๆ ต่อไป

นางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ อย่างที่ทราบกันแล้วว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภาคเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม อาหารอร่อย มีสภาพภูมิอากาศที่ดีแล้ว ยังมีเสน่ห์แห่งงานฝีมือของชุมชนที่แฝงไปตามชุมชนท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทุกอำเภอ ซึ่งมีอัตลักษณ์ สีสันลวดลาย วิธีการทอสัมพันธ์เชื่อมโยงไปตามวิถีชีวิตและความศรัทธาของแต่ละชุมชน

ปัจจุบันได้มีการต่อยอดพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผ้าซิ่นตีนจก แม่แจ่ม ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI / ผ้าไหมสันกำแพง / ผ้าทอไทลื้อดอยสะเก็ต และผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกหลากหลายพื้นที่ เป็นต้น

เชียงใหม่ จับมือ EFL Learning Centre ลงนาม MOU จัดตั้ง 'ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานต่างประเทศ EFL–Working Abroad Training Centre (WATC)' ร่วมกับ 3 แห่งแรกใน อีสาน-เหนือ โอกาสเพิ่มรายได้คนไทยปีละกว่า 1 ล้านบาท

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 11.00 น. EFL Learning Centre สถาบันภาษาแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ หลักสูตรได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และ Training Qualifications UK สหราชอาณาจักร โดย Mr. John Quinn ผู้สอบ IELTS Examiner (License No.97130) ของ University of Cambridge ESOL ซึ่งเป็นการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ (International English Language Testing System: IELTS) และ ดร.วิไลวรรณ วรรณโชติผาเวช ผู้บริหาร EFL Learning Centre ลงนาม บันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) จัดตั้ง 'ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานต่างประเทศ EFL–Working Abroad Training Centre (WATC)' ร่วมกับ 3 องค์กร ดังต่อไปนี้

1. วิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพณิชยการ (PC-TECH) จังหวัดสกลนคร โดย นาย บุญเสริม เสริมสกุล ประธานบริหารวิทยาลัย เป็นตัวแทนในการลงนาม MOU เพื่อจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานต่างประเทศ (EFL-WATC) ในพื้นที่ของวิทยาลัย PC-TECH ซึ่งก่อตั้งมากว่า 46 ปี และ มีจำนวนนักศึกษากว่า 1,700 คน และเป็นวิทยาลัยอาชีวเอกชนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จัดตั้งศูนย์ EFL-WATC นี้เพื่อมุ่งยกระดับภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการทำงานในระดับนานาชาติได้ รองรับการปรับตัวทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต พร้อมส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสการสร้างรายได้ มีอาชีพที่ก้าวหน้ามั่นคงแนวใหม่ และสอดคล้องกับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่กำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Silver Economy (สังคมสูงวัย)

2. พิมาน ล้านนา ซึ่งเป็น Chiang Mai Old Town Wellness Residence - ที่พักสำหรับคนรักความเป็นส่วนตัว และรักสุขภาพใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่ ที่ให้การบริการด้านห้องพักควบคู่ไปกับการบริการด้านสุขภาพ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้สูงอายุและครอบครัวที่ต้องการที่พักอาศัยที่ให้บรรยากาศการดูแลดุจญาติมิตร อันเป็นที่นิยมจากชาวต่างชาติหลากหลายประเทศ โดยการบริหารงานของนางประณยา สีห์พิริโยดม ตำแหน่งผู้จัดการ พิมานล้านนา เป็นตัวแทนเข้าลงนามจัดตั้งศูนย์ EFL-WATC

เชียงใหม่-อว.จับมือ มช. มุ่งผลักดัน โครงการ U2T สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสื่อมวลชน ตอกย้ำความสำเร็จการทำงานบูรณาการ

อว. มุ่งผลักดัน 'โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) (U2T) U2T x RSP @มหาวิทยาลัยเชียงใหม่' ผนึกกำลังอุทยานวิทยาศาสตร์ ตอกย้ำความสำเร็จการทำงานบูรณาการ มุ่งเน้นพัฒนาคน ดึงเทคโนโลยีเข้าช่วยสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ยืนหยัดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชน พร้อมยกระดับเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืน สำหรับ 'โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)' หรือ 'โครงการ U2T' โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ล่าสุดขึ้นเหนือเยือน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้สำหรับโครงการ U2T ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จากการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนในพื้นที่ บูรณาการแก้ไขปัญหาในมิติต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าให้แก่คนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีการผสานความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ อว. ที่ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ในการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อเกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรม และต่อยอดโครงการ U2T ให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการ U2T x RSP @มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กิจกรรมที่ 2 U2T สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสื่อมวลชน” โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับคณะ

โครงการ U2T ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้ เพื่อตอกย้ำความสำเร็จและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานโครงการ U2T ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเสริมศักยภาพในการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งมุ่งมั่นเสริมความรู้ให้กับประชาชนในเรื่อง BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว อันเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปรับตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ BCG ได้ โดยผสานความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ U2T ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นการโชว์สินค้า แชร์เทคโนโลยี และนำไปต่อยอดต่อไปได้


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. North Time Thailand
Take Me Top