ฐานเสียงภาคเหนือกระทบหลายพรรค หลัง กกต. ประกาศแบ่งเขตการเลือกตั้งใหม่

5 มีนาคม 2566 ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คำว่า "ราษฎร" ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย (ต่างด้าว) ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  ต้องดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากจำนวนราษฎรรวมลดลง เมื่อตัดราษฎรผู้ไม่มีสัญชาติไทยออก เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง 2566

.

เดิมที กกต. คำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศ นับรวมราษฎรผู้ไม่มีสัญญาชาติไทย 66,090,475 คน เฉลี่ยประมาณ 165,226 คน ต่อจำนวน ส.ส. 1 คน เมื่อไม่นับรวมราษฎรผู้ไม่มีสัญชาติไทย จะเหลือราษฎรทั้งประเทศ  65,106,481 คน เฉลี่ยประมาณ 162,766 คน ต่อ ส.ส. 1 คน ทำให้ 3 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. ลดลง ประกอบด้วย

-เชียงราย จะมี ส.ส. 7 คน จากเดิม 8 คน

-เชียงใหม่ จะมี ส.ส. 10 คน จากเดิม 11 คน

-ตาก จะมี ส.ส. 3 คน จากเดิม 4 คน

.

ซึ่งเมื่อนับจำนวน ส.ส. รวม ภาคเหนือจะเหลือ ส.ส. 36 คน จากเดิม 39 คน เมื่อดูจากจำนวน ส.ส. ลดลง-เพิ่มขึ้น ส่งผลในเชิงยุทธศาสตร์อยู่พอสมควร เนื่องจาก เชียงราย เชียงใหม่ เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อชาติ ซึ่งอยู่ในขั้วประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยกวาดเรียบ 9 คน ก่อนจะมาเสียเก้าอี้ให้ “ศรีนวล บุญลือ” จากอดีตพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งซ่อม ก่อนที่ “ศรีนวล” จะย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย ดังนั้นสนามเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลกระทบต่อพรรคเพื่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

.

เช่นเดียวกับจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทยกวาดไป 5 คน อดีตพรรคอนาคตใหม่ 2 คน ซึ่งยากที่ “ขั้วรัฐบาล” จะเข้ามาเบียดชิงในพื้นที่ได้ ส่วน จังหวัดตาก ลดลง 1 คน ส่งผลกระทบต่อ “ขั้วรัฐบาล” เนื่องจากปี 2562 พรรคพลังประชารัฐ เข้าวิน 2 คน พรรคประชาธิปัตย์ 1 คน

.

ทั้งนี้ บทสรุปของการไม่นำ “ต่างด้าว” มาคำนวณค่าเฉลี่ยน ส.ส. เสมือนจะเข้าทาง “ขั้วรัฐบาล” มากกว่า “ขั้วฝ่ายค้าน” ซึ่งเสียเก้าอี้ ส.ส. ในพื้นที่ฐานที่มั่น จึงต้องติดตามว่าจะส่งผลกระทบต่อมากน้อยเพียงใด เพราะ 1 เสียงในสภาฯ ย่อมมีผลต่อการโหวตผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

.

ที่มา : bangkokbiznews