Thursday, 25 April 2024
North Time Team

เที่ยวชุมชน ยลวิถี ชุมชนคุณธรรมบ้านผาบ่อง สุดยอด ชุมชนต้นแบบ แม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ ชุมชนยลวิถี บ้านผาบ่อง หมู่ที่ 1 ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายอมร ศรีตระกูล กำนันตำบลผาบ่อง ผู้นำชุมชน นำคณะกรรมการหมู่บ้านผาบ่อง และสมาชิกชุมชนผาบ่อง

ให้การต้อนรับ ฯ รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ ๓ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โครงการสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ชุมชนคุณธรรมฯ ณ บ้านผาบ่อง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการคัดเลือกให้ชุมชนคุณธรรม ฯ บ้านผาบ่อง ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับการคัดเลือกเป็น 1ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ


สำหรับ 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ต้องเป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวจากชุมชนคุณธรรมฯ

โดยคัดเลือกจากทั่วประเทศ 228 ชุมชน ให้ได้ 10 ชุมชน ที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ พร้อมประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง

เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดและขยายผลความสำเร็จไปยังชุมชนอื่นๆ ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชน

เมื่อวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คลี่คลายและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ชุมชนคุณธรรมบ้านผาบ่อง เป็นชุมชนเล็กๆ ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตสองกลุ่มชาติพันธุ์ คือ ชาวไตหรือไทใหญ่และชาวปกาเกอะญอ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวมานานนับร้อยปี

ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ สัมผัสบรรยากาศของการท่องเที่ยวที่อบอุ่น โดยมีจุดท่องเที่ยวต่างๆ ภายในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจเมื่อมาเที่ยวบ้านผาบ่อง คือ สะพานข้าว ก้าวเพื่อสุข สะพานไม้ไผ่ทอดยาวกลางทุ่งข้าวโอบล้อมไปด้วยขุนเขา สดชื่นด้วยบรรยากาศแสนบริสุทธิ์และความเป็นธรรมชาติ

ชมกิจกรรมและเเละผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่กาดซอกจ่า ณ ลานวัฒนธรรมชุมชนผาบ่อง ชมสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ และวิถีชุมชนซึ่งคงเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียบง่ายและมีเสน่ห์

ป้องกันไฟป่าเชียงใหม่ นอภ.ดอยสะเก็ด เปิดงานแนวกันไฟ พร้อมปชช.และ นศ.แม่โจ้ร่วมทำแนวกันไฟ

ประชาชน ผู้นำชุมชนเครือข่ายไฟป่า จิตอาสา และนักศึกษา ม.แม่โจ้ ลงพื้นที่ทำแนวกันไฟ ส่วน นศ.เรียนรู้ปัญหาฝุ่นควันไฟป่าศึกษานอกห้องเรียนหาแนวทางป้อนกันและแก้ไข นายธนกฤต ฉันทะจำรัสศิลป์ นายอำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานทำแนวกันไฟ ชุมชนดงป่าก่อ หมู่ 2 ต.เชิงดอย

 

โดยทางนายมงคล ชัยวุฒิ นายยกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย นำชาวบ้าน และพี่น้องเครือข่ายไฟป่า พี่น้องจิตอาสา ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาลในพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง และท่านอาจารย์ น้อง ๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ร่วมปฏิบัติงาน ทั้งนี้นักศึกษาได้รับฟังการบรรยายเรื่องปัญหาฝุ่นควันไฟป่า จากนายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย ประกอบการเรียนการสอนนอกห้องเรียน การทำงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา

 

ที่มา เชียงใหม่นิวส์

งานนี้เที่ยวฟรี! ชาวพิจิตร คึกคัก ทำบุญวันมาฆบูชา แห่ชมมหกรรมลิเกแก้บนหลวงพ่อเหลือ วัดหงษ์

อะเมซิ่งสายมู! ทึ่งในความศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของหลวงพ่อเหลือ วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว เมืองพิจิตร กลายเป็นที่เลื่องลือ “บนบานศาลกล่าว ขอเงินได้เงิน ของานได้งาน ขอมีลูกชายหญิงได้สมดั่งใจ” ทุกวันเพ็ญเดือน 4 ของทุกปี วัดกำหนดให้เป็นวันจัดงานมหกรรมแก้บนคนโชคดีด้วยการนำลิเกมารำแสดงถวาย

 

วันที่ 6 มีนาคม 2566 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา และตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ซึ่งเป็นประจำทุกปีที่วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว เมืองพิจิตร หรือ วัดหลวงพ่อเหลือ ได้กำหนดให้ในช่วงระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคม 2566 เป็นวันจัดงานนมัสการและสมโภชหลวงพ่อเหลือขึ้น โดย พ.ต.อ. กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ นายก อบจ.พิจิตร เป็นประธานเปิดงานท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศนับหมื่นคนที่พร้อมใจมาแก้บนภายในงานด้วยการนำลิเกรำแก้บนเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตการงาน

 

พระครูวิวิธบุญกิจ เจ้าอาวาสวัดหงษ์ “พระอาจารย์สมชาย” เล่าประวัติของวัดแห่งนี้ผ่านการแสดงไลท์แอนด์ซาวด์เล่าประวัติว่า วัดหงษ์ เดิมชื่อ วัดโหง , วัดหงส์ หรือ วัดหงสาวาส ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 มีโบราณวัตถุสำคัญ คือ พระพุทธรูป พระประธานในโบสถ์ นามว่า “หลวงพ่อเหลือ” ซึ่งในอดีตวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง อยู่ริมแม่น้ำน่านมีพระประธานในอุโบสถร้างนั้นเดิมเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2440 แม่น้ำน่านกัดเซาะตลิ่งชาวบ้านจึงช่วยกันย้ายวัดและพระประธานให้ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำน่าน จนมาประดิษฐานอยู่ ณ อุโบสถ วัดหงษ์ ตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 12 ปีมะเส็ง

 

หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยประทับนั่งฐานเขียง พระเพลากว้าง 96 นิ้ว สูง 133 นิ้ว ทรงยืดพระอุระผึ่งผายมีลักษณะงดงาม สันนิษฐานว่า ช่างปั้น ช่างหล่อพระ สร้างขึ้น เป็นฝีมือสกุลช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในวัดแห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้ใหญ่นานาพรรณ อีกทั้งยังมีต้นตะเคียนใหญ่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือกราบไหว้ ชื่อ “แม่โหง แม่นาง” เพราะเชื่อกันว่ามีนางไม้สิงสถิตอยู่อายุประมาณ 200 ปี

 

ชาวบ้านกราบไหว้บนบานศาลกล่าวเคยได้โชคได้ลาภสมดังปรารถนา เช่นเดียวกับหลวงพ่อเหลือที่อยู่ภายในอุโบสถวัดหงษ์ เป็นประจำทุกวันก็จะมีผู้คนมากราบไหว้บนบานศาลกล่าว ขอให้ลูกให้หลานสอบเข้าเรียนตำรวจ ทหาร ก็ได้สมดั่งใจนึก บนบานศาลกล่าวขอให้ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง ขอให้มีลูกชายหญิง ก็ได้ง่าย เหมือนดั่งเทวดาประทานพรให้ ฯลฯ ความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของหลวงพ่อเหลือวัดหงษ์ สะสมบารมี มีข่าวแพร่กระจายโด่งดังไปทั่ว

 

อีกทั้งมีความเชื่อกันว่าถ้าบนบานศาลกล่าวด้วยลิเก ที่เชื่อกันว่า หลวงพ่อเหลือชอบมากนักแล เมื่อได้สมดั่งใจนึกที่บนบานศาลกล่าวไว้ ต่างคนต่างก็นำลิเกมาเล่นแก้บน ทั้งกลางวันกลางคืน ซึ่งวัดหงษ์ย่านยาว แห่งนี้ ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนบ้านวัดหงษ์ เมื่อลิเกมาเล่นแก้บนกันแทบทุกวันทั้งกลางวันกลางคืน เด็กๆ ก็ไม่เป็นอันเรียนหนังสือ ส่วนพระสงฆ์องค์เจ้าก็ไม่มีสมาธิในการสวดมนต์ภาวนา

 

ดังนั้นต่อมากรรมการวัดและคณะสงฆ์จึงพิจารณาว่าสมควรให้ผู้ที่จะทำการจ้างลิเกมาแสดงแก้บนหลวงพ่อเหลือ วัดหงษ์ ขอให้มาแก้บนพร้อมๆกันในวันงานสมโภชแก้บนหลวงพ่อเหลือวัดหงษ์ ที่จะจัดขึ้นในช่วงงานเพ็ญเดือน 4 ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ) ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5-8 มีนาคม 2566 ในอดีต ต่างคนต่างหาลิเกมาเล่นประชันกันดังสนั่นลั่นวัดไปหมด

 

โดยต่อมาทางวัดจึงได้วางกุศโลบายสำหรับผู้ที่จะมาทำการแก้บนให้มาลงทะเบียนจองคิวลิเกที่ทางวัดจัดหาไว้ให้ แล้วร้อง รำ เล่น ถวายหลวงพ่อเหลือเป็นรอบๆไป หรือจะบูชาธูปในราคาดอกละ 20 บาท เพื่อหารายได้เข้าวัดโดยใช้ธูป 1 ดอก เป็นตัวแทนลิเก 1 ตัวแสดง

 

สิ่งที่พบเห็นเป็นประจำทุกปี พบว่าในวันจัดงานสมโภชแก้บนหลวงพ่อเหลือมีผู้ที่สมหวังจากการที่เคยบนบานศาลกล่าวแล้วสมหวังจำนวนนับพันนับหมื่นคน แห่กันมาร่วมงานแก้บนอันยิ่งใหญ่ในทุกๆปี ดังนั้นปีนี้หากท่านบนบานศาลกล่าวสิ่งใดหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใดไว้ก็สามารถมาร่วมบูชาธูป เพื่อใช้แทนตัวแสดงลิเก

 

เพื่อใช้ในการแก้บนในครั้งนี้ได้ด้วย หรือมีความปรารถนาสิ่งใดที่ต้องการจะบนบานศาลกล่าวให้หลวงพ่อเหลือวัดหงษ์ประทานพรความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ช่วยเหลือ ก็ขอเชิญชวนมาเที่ยวงานในวันและเวลาดังกล่าว งานนี้เที่ยวฟรี!

ครอบครัว นำอัฐิ " น้องดอม " สวดอภิธรรมคืนแรก

4 มีนาคม 2566 ที่วิหารพระเจ้าอินทร์สาน วัดพระธาตุดอยเวา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นางธนพร  พรหมเทพ และนายบรรพต พรหมเทพ พ่อและแม่ของน้องดอม หรือ นายดวงเทพ พรหมเทพ  1 ในทีม 13 หมูป่า ได้จัดพิธีทางศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับน้องดอม หลังจากช่วงเช้าที่ผ่านมาทาวครอบครัวได้ไปรับอัฐิของน้องดอมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลับมายังบ้านที่ ชุมชนสายลมจอย 

.

โดยในพิธีวันนี้มีการสวดอภิธรรมให้กับน้องดอม โดยมีพระครูประยุตเจติยานุการ เจ้าอาวาสวัดดอยเวา นำสวดโดยมี พ่อและแม่ของน้องดอมเป็นประธาน ซึ่งในวันนี้เป็นคืนแรก มี เพื่อน 12 คน ที่ประสบเหตุติดอยู่ภายในถ้ำหลวงด้วยกัน โค้ชนพ นายนพรันต์ กันทะวงศ์ โค้ชเอก นายเอกพล จันทะวงศ์ นำทีมฟุตบอลเอกพลอะคาเดมี่ ประมาณ 30 คน ญาติ แฟนคลับ ลุงบังกู้ภัย ลุงรักษ์ถ้ำหลวง และคนที่เคยร่วมอยู่ในเหตุการณ์ถ้ำหลวง  มาร่วมในพิธีประมาณ 100 คน

.

โดยการสวดอภิธรรมมีกำหนดการ 2 วันคือ วันที่ 4-5 มีนาคม 2566 และในช่วงบ่ายวันที่ 6 มีนาคม 2566 ทางครอบครัวจะมีการนำอัฐิของน้องดอมไปลอยอังคาร ที่บริเวณแม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ฐานเสียงภาคเหนือกระทบหลายพรรค หลัง กกต. ประกาศแบ่งเขตการเลือกตั้งใหม่

5 มีนาคม 2566 ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คำว่า "ราษฎร" ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย (ต่างด้าว) ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  ต้องดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากจำนวนราษฎรรวมลดลง เมื่อตัดราษฎรผู้ไม่มีสัญชาติไทยออก เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง 2566

.

เดิมที กกต. คำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศ นับรวมราษฎรผู้ไม่มีสัญญาชาติไทย 66,090,475 คน เฉลี่ยประมาณ 165,226 คน ต่อจำนวน ส.ส. 1 คน เมื่อไม่นับรวมราษฎรผู้ไม่มีสัญชาติไทย จะเหลือราษฎรทั้งประเทศ  65,106,481 คน เฉลี่ยประมาณ 162,766 คน ต่อ ส.ส. 1 คน ทำให้ 3 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. ลดลง ประกอบด้วย

-เชียงราย จะมี ส.ส. 7 คน จากเดิม 8 คน

-เชียงใหม่ จะมี ส.ส. 10 คน จากเดิม 11 คน

-ตาก จะมี ส.ส. 3 คน จากเดิม 4 คน

.

ซึ่งเมื่อนับจำนวน ส.ส. รวม ภาคเหนือจะเหลือ ส.ส. 36 คน จากเดิม 39 คน เมื่อดูจากจำนวน ส.ส. ลดลง-เพิ่มขึ้น ส่งผลในเชิงยุทธศาสตร์อยู่พอสมควร เนื่องจาก เชียงราย เชียงใหม่ เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อชาติ ซึ่งอยู่ในขั้วประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยกวาดเรียบ 9 คน ก่อนจะมาเสียเก้าอี้ให้ “ศรีนวล บุญลือ” จากอดีตพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งซ่อม ก่อนที่ “ศรีนวล” จะย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย ดังนั้นสนามเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลกระทบต่อพรรคเพื่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

.

เช่นเดียวกับจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทยกวาดไป 5 คน อดีตพรรคอนาคตใหม่ 2 คน ซึ่งยากที่ “ขั้วรัฐบาล” จะเข้ามาเบียดชิงในพื้นที่ได้ ส่วน จังหวัดตาก ลดลง 1 คน ส่งผลกระทบต่อ “ขั้วรัฐบาล” เนื่องจากปี 2562 พรรคพลังประชารัฐ เข้าวิน 2 คน พรรคประชาธิปัตย์ 1 คน

.

ทั้งนี้ บทสรุปของการไม่นำ “ต่างด้าว” มาคำนวณค่าเฉลี่ยน ส.ส. เสมือนจะเข้าทาง “ขั้วรัฐบาล” มากกว่า “ขั้วฝ่ายค้าน” ซึ่งเสียเก้าอี้ ส.ส. ในพื้นที่ฐานที่มั่น จึงต้องติดตามว่าจะส่งผลกระทบต่อมากน้อยเพียงใด เพราะ 1 เสียงในสภาฯ ย่อมมีผลต่อการโหวตผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

.

ที่มา : bangkokbiznews

คุณหญิงสุดารัตน์ ขึ้นเวทีกล่าวกับพี่น้องชาวเชียงใหม่

วันที่ 3 มี.ค.2566 - ที่ จ.เชียงใหม่ พรรคไทยสร้างไทย นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย นายการุณ โหสกุล นายต่อพงษ์ ไชยสาสน์ แกนนำพรรคไทยสร้างไทย ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพบปะพี่น้องประชาชน พร้อมแนะนำว่าที่ผู้สมัครของพรรคไทยสร้างไทย จำนวน 10 เขต โดยมีประชาชนมารอฟังการปราศรัยจำนวนมาก

 

คุณหญิงสุดารัตน์ ขึ้นเวทีกล่าวกับพี่น้องชาวเชียงใหม่ว่า นับแต่เริ่มทำงานทางการเมืองมากว่า 30 ปี ไม่เคยมียุคใดสมัยใดที่พี่น้องจะทุกข์ยากแสนสาหัสมากเท่ากับยุคนี้ โดยเฉพาะคนตัวเล็ก คนหาเช้ากินค่ำ พี่น้องเกษตรกร ถูกละเลยได้มากเท่านี้อีกแล้ว

 

พรรคไทยสร้างไทย ขอเดินหน้าตามอุดมการณ์ สร้างพรรคให้เป็นสถาบันการเมืองเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อส่งมอบประเทศไทยที่ดีที่สุดให้กับลูกหลาน จึงไม่สนใจที่จะต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองกับใคร และยืนยันที่จะไม่เป็นนั่งร้านให้กับเผด็จการได้กลับมานำพาประเทศไทยให้ถอยหลังลงคลองอีกต่อไป

 

ดังนั้น หากพี่น้องเห็นด้วยกับแนวทางของเรา และเห็นด้วยว่าต้องหยุดการเมือง 2 ขั้วเพราะเลือกฝั่งหนึ่งก็ติดหล่ม เลือกอีกฝั่งก็ติดล็อค จนเปิดทางให้ทหารลากรถถังมายึดอำนาจถึงสองครั้งในรอบ 17 ปี ประชาชนในบ้านเมืองตีกัน เกิดความขัดแย้งไม่จบสิ้น ประเทศเกิดการคอรัปชั่น เกิดการทุจริตอย่างมโหฬาร จนเดินหน้าต่อไม่ได้ ขอให้มาร่วมกับพรรคไทยสร้างไทย เพื่อร่วมกันสร้างทางออก ทางรอดของประเทศ

 

คุณหญิงสุดารัตน์ ยังกล่าวถึงปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของพี่น้องชาวเชียงใหม่และพี่น้องภาคเหนือต้องพบเจอมานานหลายปี ซึ่งเป็นความทุกข์ยากแสนสาหัส นั่นคือปัญหาฝุ่นพิษ โดยเฉพาะค่าอากาศ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน สูงถึง 210 AQI และ PM2.5 สูงถึง 100 ซึ่งถือเป็นตัวเลขเมืองที่มีมลพิษสูงอันดับ 1 ของโลก

 

ปัญหาดังกล่าวจะกลายเป็นสาเหตุที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งปอดโดยภาวะที่มี PM 2.5 จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด ได้มากถึง 1-1.4 เท่า ซึ่งเมื่อ PM 2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด

 

พี่น้องประชาชนจะไม่รู้สึกตัวและป้องกันไม่ได้เมื่อเข้าไปภายในปอดแล้ว อาจทำให้เกิดการอักเสบมีการกลายพันธุ์ของ DNA RNA หากร่างกายได้รับสาร PM 2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไปก็จะทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้

 

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ดังนั้น พ.ร.บ.อากาศสะอาด จึงเป็นวาระเร่งด่วนที่พรรคไทยสร้างไทย จะผลักดันเป็นกฎหมายฉบับแรกๆเมื่อได้เป็นรัฐบาล นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเพื่อไม่ให้ไปเผาตอซังต่างๆ โดยจะใช้เครื่องมือ ที่มหาวิทยาลัยผลิตได้ เก็บตอซังเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งตอซัง เหล่านี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นวัสดุ Bio Plastic เช่นจาน แก้ว และกระดาษต่างๆ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

นอกจากนี้จะต้องไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้มีการเผา รวมถึงไฟป่าที่ต้องเฝ้าระวังอย่างจริงจัง โดยจัดสรรงบประมาณให้กับภาคประชาชนเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกัน รวมถึงสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเรื่องเหล่านี้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันพื้นที่ในตัวเมืองจะต้องสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ให้มากขึ้น

 

ซึ่งพรรคไทยสร้างไทยมีนโยบายและแผนงานเตรียมพร้อมไว้แล้วโดยเฉพาะการนำรถยนต์เก่ามาแลกรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ โดยมีสิทธิพิเศษต่างๆให้มากมาย

 

 

โครงการรถไฟเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ สายเหนือ เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ระยะทางรวม 323.10 กิโลเมตร ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธา 3 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย - งาว ระยะทาง 104 กม. สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. และสัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. ภาพรวมมีความก้าวหน้าร้อยละ 0.75 เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

 

โดยในสัญญาที่ 2 ได้เริ่มดำเนินงานขุดอุโมงค์ฝั่งเหนือไปแล้วเป็นระยะทางประมาณ 4 เมตร นับเป็นผลงาน 0.15% ในระยะเวลาเริ่มงาน 10 วัน ทั้งฝั่ง up track และ down track ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการขุดครึ่งส่วนบนของหน้าตัดอุโมงค์ (top heading) และติดตั้งระบบค้ำยันดิน (primary support)

 

ทั้งนี้อุโมงค์สัญญา 2 ประกอบด้วย ชั้นดิน และชั้นหิน วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ คาบเกี่ยว 2 จังหวัดคือ ลำปาง และพะเยา เป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยว แบ่งเป็นฝั่ง up track และ down track ความยาว 2,700 เมตร (ทั้งหมด 5,400 เมตร) ภายในอุโมงค์มีทางเชื่อม 2 ประเภทคือ ทางเชื่อมกรณีฉุกเฉินเพื่ออพยพ (cross passage) 11 จุด และทางเชื่อมที่เป็นห้องควบคุมงานระบบ(equipment room) 4 แห่ง

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากความก้าวหน้างานด้านโยธาแล้ว ปัจจุบัน รฟท. ยังได้เร่งรัดการดำเนินงานเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้าง ให้โครงการสามารถเสร็จสิ้นได้ตามแผนต่อไป โดยทั้ง 3 สัญญามีพื้นที่ที่ต้องดำเนินงานเวนคืนฯ รวม 8,665 แปลง 12,076 ไร่ แบ่งเป็น ที่ดินมีเอกสารสิทธิ 7,704 แปลง ที่ดิน สปก. 783 แปลง พื้นที่ป่า 13 แปลง อื่นๆ 465 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 5,053 รายการ

 

ขณะนี้ได้เริ่มทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับชาวบ้านที่ถูกเวนคืนในโครงการฯ แล้ว โดยสัญญาที่ 1 มีความก้าวหน้า ร้อยละ 54 สัญญาที่ 2 มีความก้าวหน้า ร้อยละ 29% และสัญญาที่ 3 มีความก้าวหน้า ร้อยละ 49%

 

สำหรับโครงการรถไฟเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ มุ่งไปทางทิศเหนือผ่านพื้นที่ 59 ตำบล 17 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยปลายทางจะบรรจบกับสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งในอนาคตจะถูกพัฒนาไปเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของ

 

รูปแบบเส้นทางเป็นทางคู่ใหม่ขนานกันตลอดเส้นทาง มีสถานีทั้งสิ้น 26 สถานี ประกอบด้วย สถานีขนาดใหญ่ 4 สถานี สถานีขนาดเล็ก 9 สถานี และป้ายหยุดรถ 13 แห่ง มีลานขนถ่ายสินค้าจำนวน 4 แห่ง และย่านกองเก็บและบรรทุกตู้สินค้า 1 แห่งที่สถานีเชียงของ บนพื้นที่ 150 ไร่ พร้อมแนวถนนเชื่อมต่อด่านชายแดนเชียงของ

 

จุดเด่นที่สำคัญของโครงการนี้คือ เป็นโครงการที่ก่อสร้างโดยไม่มีจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ - รถยนต์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยมีการออกแบบรั้วกั้นเขตตลอดแนวสายทางของ รฟท. และออกแบบสะพานข้ามทางรถไฟ สะพานข้ามถนน และถนนลอดทางรถไฟ ตลอดจนสะพานลอย ทางเท้า และทางรถจักรยานยนต์ข้าม และลอดทางรถไฟ รวม 254 จุดตลอดแนวเส้นทาง และยังมีอุโมงค์คู่ 4 แห่ง ตามแนวเส้นทางที่พาดผ่านพื้นที่ภูเขา รวมระยะทางประมาณ 13.9 กม. และมีอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในไทย 6.2 กม.

 

โดยเป็นสายทางที่คาดการณ์ว่าจะสวยที่สุดของ รฟท. นอกจากนี้ยังมีลานกองเก็บสินค้า CY มากถึง 5 แห่ง

 

 

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย นายการุณ โหสกุล นายต่อพงษ์ ไชยสาสน์ แกนนำพรรคไทยสร้างไทย เดินทางลงพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมพบป่ะประชาชน

เมื่อเวลา 09.00น. วันที่ 3 มี.ค.ที่วัดสันดอนมูล คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย นายการุณ โหสกุล นายต่อพงษ์ ไชยสาสน์ แกนนำพรรคไทยสร้างไทย เดินทางลงพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมพบป่ะประชาชน

 

โดยมีชาวเชียงใหม่ เดินทางมาให้กำลังใจในการลงพื้นที่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดสันดอนมูล พร้อมรับชมการแสดงฟ้อนจากกลุ่มสตรี รวมทั้งรับการผูกข้อมือรับขวัญด้วย โดยคุณหญิงสุดารัตน์ ได้กล่าวขอบคุณชาวเชียงใหม่ ที่มาให้กำลังใจมอบดอกไม้ ขอถ่ายภาพและสวมกอด

 

ขณะเดียวกันสีชาวบ้านนำหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM2.5 มามอบให้กับคุณหญิงสุดารัตน์ และแกนนำพรรค เพื่อใช้ในการป้องกันตัวเองจากหมอกควันและฝุ่นละอองด้วย โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่

 

ซึ่งวันเดียวกันนี้ วัดค่าฝุ่นละอองได้ที่ระดับ 201 ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และหลอดเลือด

 

จากนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ ได้ขึ้นปราศรัย โดยมีชาวบ้านจากอำเภอสันป่าตอง อำเภอสารภีร่วมรับฟัง พร้อมฝกล่าวย้ำกับผู้สมัคร ส.ส. ของจังหวัดเชียงใหม่ว่า ขอให้ทำงานหนัก เพื่อให้ประชาชนทุกคนมั่นใจว่า พรรคไทยสร้างไทย สามารถทำนโยบายที่ได้ประกาศไว้สำเร็จ เป็นรูปธรรมได้ภายใน 3 ปีหากได้รับโอกาสเป็นรัฐบาล และขอให้ผู้สมัคร ทุกคนต้องสร้างศรัทธาให้กับกับประชาชนให้ได้ว่า เลือกไทยสร้างไทย ประเทศจะเปลี่ยนแปลง เราจะสร้างประเทศที่ดีกว่านี้เพื่อคนรุ่นต่อไป

 

ต้องให้ประชาชนเข้าใจนโยบายของพรรค อย่างนโยบายบำนาญประชาชน 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งพรรคได้เสนอกฎหมายไปรอไว้ในสภาแล้ว เหมือนรถไปจอดรอแล้ว เหลือแค่คนขับ คือผู้สมัครทุกคน ที่จะเข้าสภาไปยกมือให้ กฎหมายฉบับนี้

 

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวถึงพันธกิจในการดูแลประชาชนว่า มีตั้งแต่เกิดจนแก่ ผ่านนโยบาย 3 สร้าง คือ สร้างพลังอำนาจให้พี่น้องประชาชน ผ่านการแก้หนี้ เติมทุน สร้างรายได้ ผ่านพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย เช่น ด้าน เกษตร อาหาร ท่องเที่ยว และสุขภาพ, ฐานเทคโนโลยี, และฐานเศรษฐกิจโลกใหม่ เช่น เปลี่ยนเงื่อนไขการลงทุน BOI, ปรับตัวชี้วัด, เขตเศรษฐกิจพิเศษการท่องเที่ยว, และเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเป็นรายได้ สร้างโอกาสและความสุข

 

ด้วยนโยบายบำนาญประชาชน, 30 บาทพลัส, นโยบายเรียนฟรีถึงปริญญาตรีตรี และหวยบำเหน็จ เป็นต้น

 

 

ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 

(ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 ว่าขณะนี้รอเพียงนายกรัฐมนตรีนำโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ประสบความเดือดร้อนจากผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ในฤดูกาลผลิตปี 2564/2565 เข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบเท่านั้น

 

จึงฝากท่านนายกรัฐมนตรีให้ช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยเป็นการด่วนโดยสามารถนำเข้าคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในสัปดาห์หน้าก่อนที่จะมีการยุบสภาเนื่องจากรอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วแต่กลับถูกดึงเรื่องจนถึงวันนี้กลับบอกว่าไม่มีเงิน

 

“โครงการนี้ฟรุ้ทบอร์ดได้มีมติเห็นชอบโครงการตามข้อเสนอของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยในภาคตะวันออกและภาคเหนือโดยการนำของ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีเกษตรฯ. นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญาอดีต ส.ส.จันทบุรี นายขยัน วิพรหมชัย อดีตส.ส.ลำพูน และ นายพสิษฐ์ สุขสวัสดิ์ ประธานแปลงใหญ่ลำไยจังหวัดลำพูนร่วมกับเครือข่ายชาวสวนลำไยทุกกลุ่มโดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามเห็นชอบโครงการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนผ่านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีลงนามเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ถ้านายกรัฐมนตรีนำเข้าคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปีที่แล้ว ชาวสวนลำไยก็คงได้รับเงินเยียวยาไปเรียบร้อยแล้ว”

 

นายอลงกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นข้ออ้างว่า เงินช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยใช้เงินจำนวนมากนั้นฟังไม่ขึ้นเพราะกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณใช้เงินหลายแสนล้านในโครงการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆในขณะที่การเยียวยาชาวสวนลำไยใช้เงินเพียง3พันล้านเท่านั้น

.

ส่วนประเด็นข้ออ้างเรื่องวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ใช้เต็มวงเงินนั้นขอยืนยันว่าการดูแลช่วยเหลือเกษตรกรจะมีเพดานเงินไม่ได้เพราะหากเกิดภัยแล้งวันนี้ต้องใช้เงินช่วยเหลือเกษตรกรแล้วบอกว่าวงเงินไม่มี พูดแบบนี้อย่าเป็นรัฐบาล ขอแนะนำว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาง่ายมากโดยคณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งทำได้อยู่แล้ว เพราะคณะรัฐมนตรีเคยดำเนินการมาแล้วเป็นเงินหลายแสนล้าน จึงขอให้เห็นใจชาวสวนลำไยซึ่งรอเงินเยียวยาโดยกระทรวงเกษตรฯ.เสนอไปตั้งแต่6เดือนที่แล้ว

 

“อย่าพยายามอ้างเหตุผลการโยนเรื่องกลับมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เสนอรอบ2ทั้งที่ไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดๆ เนื่องจากเป็นโครงการที่เคยเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเยียวยาชาวสวนลำไยฤดูกาลผลิตปี 2563/2564 มาครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ใช่โครงการแรกเมื่อ2ปีก่อนก็ไม่เคยต้องเสนอ2รอบแบบนี้ แต่เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่นไม่มีข้ออ้างใดๆอีก

กระทรวงเกษตรฯ.ก็ยอมปฏิบัติตามโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ.ลงนามเสนอรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ได้ลงนามถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีและรอเพียงนายกรัฐมนตรีนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบ

 

ดังนั้นการอ้างว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการล่าช้าหรือการอ้างว่าใช้วงเงินเต็มแล้วจึงเป็นเหตุผลข้ออ้างที่ไม่ถูกต้องเพราะเสนอมาตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้ว

 

ซึ่งหากมีความจริงใจที่จะช่วยเหลือชาวสวนลำไยเพียง 3 พันล้านก็สามารถทำได้ทันที จึงขอให้ชาวสวนลำไยในภาคเหนือและภาคตะวันออกได้เข้าใจความจริงในเรื่องนี้ อย่าให้มีใครมาบิดเบือนหรือเตะถ่วงให้ไปรอรัฐบาลหน้า เพราะรัฐบาลนี้สามารถอนุมัติได้ทันที นายอลงกรณ์กล่าว

 

ในที่สุด สำหรับโครงการเยียวยาชาวสวนลำใยครั้งนี้มีแนวทางช่วยเหลือที่กำหนดไว้ ดังนี้ ขนาดพื้นที่ปลูกรายละ ไม่เกิน 25 ไร่ ในอัตรา 2,000 ต่อไร่ กรอบวงเงินทั้งหมด 3,821.54 ล้านบาท

 

กลุ่ม ปตท. เปิดงาน PTT Group Tech & Innovation Day 'Beyond Tomorrow' โชว์สุดยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมนำอนาคต

เมื่อวานนี้ (1 มี.ค.66) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในพิธีเปิดงาน PTT Group Tech & Innovation Day ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Beyond Tomorrow: นวัตกรรม นำอนาคต’ โดยมี ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่ม ปตท. หน่วยงานพันธมิตรภาครัฐ และเอกชนชั้นนำร่วมในพิธี ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า PTT Group Tech & Innovation Day ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ก.พ. - 3 มี.ค. 66  เป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญเพื่อแสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยี และการลงทุนด้านนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. ตลอดจนสร้างการรับรู้ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคต และหาโอกาสต่อยอดความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ทั้งจากภายในกลุ่ม ปตท. และหน่วยงานภายนอก พร้อมทั้งผลักดันการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย 

1.นิทรรศการ แสดงผลงานทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจใหม่จาก กลุ่ม ปตท. ใน 7 ด้าน ประกอบด้วย Future Energy, Future Mobility, Life Science, AI, Robotics & Digitalization, Logistics & Infrastructure, Decarbonization และ Innovation Ecosystem ที่มีส่วนในการช่วยสร้างสรรค์และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคม อาทิ การดูแลสิ่งแวดล้อมจากพลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า สุขภาพและการแพทย์จากวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมจากระบบการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน 

2.Tech Talk เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิด และเทรนด์เทคโนโลยี นวัตกรรมที่น่าจับตาจากภาครัฐที่ขับเคลื่อนนโยบายและผู้นำด้านนวัตกรรมกว่า 23 หัวข้อ 

และ 3.Pitching Desk พื้นที่นำเสนอนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ของกลุ่ม ปตท. กว่า 30 แบรนด์ ที่พร้อมให้นักลงทุนและผู้สนใจได้ร่วมพูดคุย ต่อยอดและขยายโอกาสการเติบโตสู่ธุรกิจที่ไกลกว่าพลังงานไปด้วยกัน ตลอดจนจะได้พบกับสินค้านวัตกรรมที่พร้อมให้ช้อป ชิมจากกลุ่ม ปตท. อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจาก Innobic, น้ำเชื่อมหญ้าหวาน Natural Nxt, อาหารโปรตีนจากพืช NRPT, ไอศกรีมกะทิสดแท้ Kathisod Station และผลิตภัณฑ์รักษ์โลกจาก MORE 

“กลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนเดินหน้าขยายการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเป็นที่ยอมรับทั้งในภูมิภาคอาเซียนและเวทีโลก พร้อมขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคตได้ต่อไป” นายอรรถพลกล่าวเสริม
 


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. North Time Thailand
Take Me Top